DC05 – ตัวอย่างตารางคำนวณหาระยะเวลาที่ใช้ในกะ

สมมติว่าลูกจ้างคนหนึ่งเข้างานตั้งแต่เวลา 7:00-9:00 น. ให้สร้างตารางคำนวณหาระยะเวลาที่เขาทำงานในกะที่กำหนดซึ่งเริ่มตั้งแต่เวลา 8:00-10:00 น.

จากคำถามข้างต้นนี้ คุณคงคิดคำตอบในใจได้ว่าต้องทำงานในกะเป็นเวลา 1 ชั่วโมงใช่ไหม เพราะลูกจ้างคนนี้ออกจากงานเวลา 9:00 น. จึงนับระยะเวลาตั้งแต่เริ่มกะตอน 8:00 น. ไปจนถึงเวลาที่เขาออกจากงาน ได้เป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมง (8:00-9:00) ซึ่งคงหาทางสร้างสูตรคำนวณได้ไม่ยาก แต่ถ้าเขามีช่วงที่เข้าทำงานหลากหลายกรณีจะใช้สูตรอย่างไร

  1. ตรงกับกะ (8:00-10:00)
  2. อยู่ภายในกะ (8:30-9:00)
  3. คร่อมกะ ทั้งก่อนและหลัง (7:00-12:00)
  4. คร่อมกะ เพียงช่วงเริ่มงาน (7:00-9:00)
  5. คร่อมกะเพียงช่วงเลิกงาน (9:00-12:00)
  6. นอกกะ ช่วงก่อนกะ (6:00-7:00)
  7. นอกกะ ช่วงหลังกะ (11:00-12:00)

image003

สูตรคำนวณหาระยะเวลาทำงานที่ใช้ในกะ ในเซลล์ H4 = MAX(  0,  MIN(F4,D4)  –  MAX(E4,C4) ) โดยแยกอธิบายแต่ละส่วนในสูตรได้ ดังนี้

  • MIN(F4,D4) เป็นการนำเวลาปลายกะมาเทียบกับเวลาปลาย job (เวลาออกจากงาน) เพื่อหาเวลาสุดท้ายที่เป็นไปได้ที่เกิดขึ้นก่อน
  • MAX(E4,C4) เป็นการนำเวลาต้นกะมาเทียบกับเวลาต้น job (เวลาเริ่มเข้างาน) เพื่อหาเวลาสุดท้ายที่เป็นไปได้ที่เกิดขึ้นหลังสุด
  • MIN(F4,D4)-MAX(E4,C4) คำนวณหาระยะเวลาทำงานที่ใช้ในกะ
  • MAX(0,xxx) ปรับผลลัพธ์ที่คำนวณได้ให้ไม่มีทางต่ำกว่า 0

สูตร = MAX(0,MIN(F4,D4)-MAX(E4,C4)) นี้ เป็นสูตรสัั้นๆที่สามารถใช้แทนสูตร IF เพราะหากจะใช้ IF ในการคำนวณก็จะต้องนำ IF มาซ้อนกันถึง 7 ชั้น