เลขที่หนังสือ | |
วันที่ | : 1 พฤษภาคม 2551 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการฝึกอบรม |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 48(1) มาตรา 50(1) มาตรา 40(2) มาตรา 58 มาตรา 59 มาตรา 81(1)(ช) มาตรา 77/1(10) และมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร |
ข้อหารือ | บริษัทฯ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2539 ประกอบกิจการ ดังนี้ |
แนววินิจฉัย | 1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีตามข้อ 3 หากบริษัทฯ ได้จัดให้มีการฝึกอบรมให้แก่สาธารณชนเป็นการทั่วไป (Public Training) หรือให้แก่ลูกจ้างของบริษัทในเครือเดียวกันตามหลักสูตรที่บริษัทฯ จัดขึ้น เข้า ลักษณะเป็นสถานศึกษาตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5(1)(ง) ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่รับลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเข้ารับศึกษาหรือฝึกอบรม ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ดังนั้น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไปหรือบริษัทในเครือเดียวกันกับบริษัทฯ ซึ่งส่งพนักงานเข้ารับการฝึกอบรมกับบริษัทฯ จึงมีสิทธิ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละร้อยของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็น ค่าใช้จ่ายในการส่งลูกจ้างเข้ารับการฝึกอบรมนั้น ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548 2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 2.1 กรณีตามข้อ 2.1 บริษัทฯ จ่ายเงินให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล บริษัทฯ จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 8(2) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 และให้ใช้แบบ ภ.ง.ด. 53 เป็นแบบยื่นรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ตามข้อ 2(4)(ข) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 16) เรื่อง กำหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับภาษีเงินได้ของบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 2.2 กรณีตามข้อ 2.2 บริษัทฯ จ่ายเงินให้แก่บุคคลธรรมดา หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เข้าลักษณะเป็นเงินได้จากการรับทำงานให้ ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายด้วยจำนวนคราวที่ต้องจ่ายเพื่อให้ได้จำนวนเงินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี แล้วคำนวณภาษีตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 48 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้หารด้วยจำนวนคราวที่ต้องจ่าย เป็นเงินเท่าใดให้หักเป็นภาษีไว้เท่านั้น ถ้าไม่ทราบจำนวนคราวที่จ่ายแน่นอน ให้คำนวณโดยนำเงินได้พึงประเมินที่จ่ายคูณด้วยหนึ่งแล้ว คำนวณภาษีตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 48 แห่งประมวลรัษฎากร ได้จำนวนเงินภาษีเท่าใดให้หารด้วยหนึ่ง แล้วหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เท่านั้น ถ้าคำนวณแล้วไม่มีเงินภาษีก็ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายเงิน ค่าตอบแทนให้กับวิทยากรครั้งที่สองในปีภาษีเดียวกัน ก็ให้นำเงินได้พึงประเมินที่จ่ายให้ครั้งแรกมารวมกับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในครั้งที่สองได้เป็นจำนวนเท่าใดให้คูณด้วยหนึ่ง แล้วคำนวณภาษีตามหลักเกณฑ์ ในมาตรา 48 แห่งประมวลรัษฎากร ได้จำนวนเงินภาษีเท่าใดให้หารด้วยหนึ่ง ผลลัพธ์เป็นจำนวนภาษีเท่าใด ให้นำภาษีที่หักไว้ ณ ที่จ่ายครั้งแรก (ถ้ามี) มาหักออกเหลือเท่าใดเป็นเงินภาษีที่จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินครั้งที่สอง และถ้ามีการจ่ายค่าวิทยากรให้แก่ผู้รับรายเดียวกันในปีภาษีนี้อีก การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย ครั้งต่อไป ก็ให้คำนวณตามวิธีข้างต้น และให้ใช้แบบ ภ.ง.ด. 1 เป็นแบบยื่นรายการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 58 และมาตรา 59 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 58) เรื่อง กำหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวกับ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีตามข้อ 1 บริษัทฯ ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงเรียนเอกชน การให้บริการ การศึกษาแก่บุคคลที่เป็นนักเรียนของโรงเรียน โดยจัดเป็นชั้นเรียนในแต่ละระดับการศึกษาภายใน สถานศึกษาของบริษัทฯ รายรับที่ได้จากกิจการดังกล่าว ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ช) แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับการให้บริการฝึกอบรมแก่บุคคลภายนอกที่มิใช่นักเรียนของโรงเรียน รายรับ จากการประกอบกิจการดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นการให้บริการอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม มาตรา 77/1(10) และมาตรา 77/2 (1)แห่งประมวลรัษฎากร |
เลขตู้ | : 71/35829 |