เคล็ดจัดการกับ Error

เมื่อสูตรไม่สามารถคำนวณหาค่าออกมาได้ก็จะเปลี่ยนเป็นคำเตือน Error ที่มีเครื่องหมาย # นำหน้า และจะส่งผลต่อเนื่องไปยังสูตรอื่นที่ลิงก์ค่าไปใช้ต่อทำให้เกิด Error ต่อไปอีก

เมื่อใดที่เกิด Error ขึ้นมาให้เห็น อย่ารีบร้อนไปแก้ Error ที่เซลล์ผลลัพธ์ให้เปลี่ยนไปเป็นช่องว่างหรือตัวเลขอื่น แต่ต้องไล่หาสาเหตุของการเกิด Error ให้เจอแล้วหาทางป้องกันที่ต้นตอเพื่อปิดโอกาสใดๆในอนาคตที่จะทำให้สูตรคำนวณไม่ได้อีก เมื่อหาทางป้องกันที่ต้นเหตุไว้เต็มที่แล้ว ย่อมไม่น่าจะมี Error เกิดขึ้นอีกเลย แต่เพื่อทำให้มั่นใจ 100% ก็อาจแก้ไข Error ที่เซลล์ผลลัพธ์เผื่อไว้อีกก็ได้

การแก้ Error ทำได้หลายวิธี

  1. แก้ด้วยสูตร IFError หรือ ใช้ If ร่วมกับสูตร IsError เพื่อเปลี่ยน Error ให้เป็นค่าอื่น โดยต้องยึดหลักว่า ค่าใหม่ที่ใช้แทน Error นั้นต้องยังคงมีสถานะตามค่าเดิมที่สูตรจะคำนวณได้ เช่น ให้แสดงเป็นเลข 0 แทนเมื่อสูตรเดิมคำนวณตัวเลขแล้วใช้ Format 0;-0; เพื่อทำให้เห็นเป็นเซลล์ว่าง หรือถ้าสูตรเดิมหาค่าเป็นตัวอักษร ให้แสดงเป็นช่องว่างด้วย Null Text โดยการใส่ “” (ไม่ควรใช้ “” กับสูตรที่คำนวณเป็นตัวเลข เพราะ “” มีสถานะเป็น Text และไม่สามารถนำ “” ไปบวกลบคูณหารต่อได้)
    ..
  2. ถ้าไม่ได้นำค่านั้นไปคำนวณต่ออีก อาจปล่อย Error ไว้ แต่ทำให้มองไม่เห็น Error โดยใช้ Conditional Formatting ตรวจสอบโดยใช้สูตร IsError แล้วเปลี่ยนสี font ให้กลืนกับสีพื้น
    ..
  3. ปล่อย Error ไว้ แต่ทำให้มองไม่เห็น Error บนหน้ากระดาษเมื่อสั่งพิมพ์ โดยกำหนดใน Page Setup > Sheet > Cell errors as แล้วกำหนดให้แสดงเป็น blank หรือ — แทน