กว่าครึ่งของคำถามเหล่านี้คือพื้นฐานที่ผู้ใช้ Excel ต้องมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความถูกต้องจากการคำนวณ หรือเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ใช้ Excel ได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น คงไม่มีใครอยากรับคนที่ใช้ Excel เป็น แต่ทำงานช้าเป็นเต่าหรอกใช่ไหม
Q : พอเปิดแฟ้มขึ้นมา จะเลือกใช้เซลล์ใดเป็นเซลล์แรก
Q : ทำไมสูตร =22.3-22.2 จึงได้คำตอบไม่เท่ากับ 0.1
Q : ลำดับการคำนวณสูตร =1+2/3*4/5^6 จะคิดเครื่องหมายบวบลบหรืออะไรก่อนหลัง
Q : ลองใส่เครื่องหมายวงเล็บให้กับสูตร =1+2/3*4/5^6
Q : เวลาพิมพ์ค่าใดๆลงไปจะรู้ได้ยังไงว่าเป็นตัวเลขหรือตัวอักษร
Q : ตัวอักษรมีค่าเท่ากับ 0 หรือไม่ ถ้าไม่ใช่ มีค่าเท่ากับเท่าใด
Q : ถ้าเซลล์ B2 เป็นตัวเลขและ B3 เป็นตัวอักษร สูตร =B2+B3 ต่างจาก =SUM(B2:B3) ไหม
Q : เวลาพิมพ์สูตรลงไปในเซลล์ ควรพิมพ์ชื่อสูตรด้วยตัวเล็กหรือตัวใหญ่
Q : ถ้าเก็บรายการข้อมูลไว้เต็มชีทแล้ว รายการถัดไปจะเก็บไว้ที่ไหนดีกว่ากัน ระหว่างสร้างชีทใหม่กับสร้างแฟ้มใหม่เพื่อเก็บรายการใหม่นั้น
Q : ถ้าต้องเลือกระหว่างการสร้างสูตรลิงก์ข้ามชีท กับ ลิงก์ข้ามแฟ้ม จะเลือกใช้วิธีใด
Q : การบันทึกวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของปีนี้ ควรบันทึกอย่างไรและใช้เลขปีพ.ศ.หรือค.ศ.
Q : ถ้าพบว่าเซลล์ที่ต้องบันทึกจำนวนสินค้ายังว่างอยู่ จะปล่อยให้ว่างไว้หรือใส่เลข 0 ลงไปดี
Q : เครื่องหมาย $ คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร มีวิธีใช้ยังไง
Q : Range Name คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร มีวิธีใช้ยังไง
Q : จงอธิบายข้อดี ข้อเสีย และข้อควรระวังของสูตร VLookup
Q : สูตรอะไรที่ต้องใช้เสมอเพื่อทำให้ตัวเลขผลคำนวณ ได้คำตอบตรงกับค่าที่มองเห็น
Q : ระหว่างการหาข้อมูลโดยการใช้คำสั่งบนเมนู กับ การหาโดยใช้สูตร แตกต่างกันยังไง
Q : สูตร SumProduct แปลว่าอะไร มีข้อจำกัดอย่างไร ดีกว่า Pivot Table ตรงไหน
อย่าลืมว่าคนที่สมัครเข้ามา เขาคือคนที่จะมาทำงานให้ ไม่ใช่คนที่คุณจะต้องมาเสียเวลาสอน Excel กันใหม่ เจ้าหน้าที่สัมภาษณ์แม้ไม่เก่ง Excel ควรหาคำตอบเหล่านี้ไว้ด้วย ใช้คำถามเหล่านี้แล้วดูว่าเขาตอบได้อย่างมั่นใจเพียงใด เหตุผลน่าเชื่อหรือไม่ โดยเฉพาะประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับการทำงาน
ส่วนผู้ทำงานหรือผู้สมัครงานต้องขวนขวายค้นคว้าเพื่อตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้เอง ความคิดที่จะขวนขวายนี่แหละคือคุณสมบัติสำคัญของคนที่เหมาะจะรับเข้ามาทำงาน