คุณทราบไหมว่า ตามกฎหมายแล้วแฟ้ม Excel ที่คุณสร้างขึ้น เป็นของใคร เป็นของคุณ หรือเป็นของบริษัทที่จ้างคุณ
ลิขสิทธิ์ของงานที่คุณสร้างขึ้นเข้าข่ายตามกฎหมายทันทีโดยไม่ต้องไปจดทะเบียนลิขสิทธิ์ โปรดดูมาตรา 9
เป็นที่น่าดีใจว่า ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ (พ.ศ. 2537) เริ่มมีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา ได้ระบุถึงการสร้างสรรค์งานในฐานะลูกจ้าง หรือผู้รับจ้าง ไว้ดังนี้
มาตรา 4 “โปรแกรมคอมพิวเตอร์” หมายความว่า คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดที่นำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานหรือเพื่อให้ได้รับผลอย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในลักษณะใด
“เผยแพร่ต่อสาธารณะชน” หมายความว่า ทำให้ปรากฏต่อสาธารณชน โดยการแสดง การบรรยาย การสวด การบรรเลง การทำให้ปรากฏด้วยเสียงและหรือภาพ การก่อสร้าง การจำหน่าย หรือโดยวิธีอื่นใดซึ่งงานที่ได้จัดทำขึ้น
มาตรา 9 งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้ลิขสิทธิ์ในงานนั้นเป็นของผู้สร้างสรรค์ แต่นายจ้างมีสิทธินำงานนั้นออกเผยแพร่ต่อสาธารณะชนได้ ตามที่เป็นวัตถุประสงค์แห่งการจ้างแรงงานนั้น
มาตรา 10 งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการรับจ้างบุคคลอื่น ให้ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น เว้นแต่ผู้สร้างสรรค์และผู้ว่าจ้างจะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 14 กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น ย่อมมีลิขสิทธิ์ในงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการจ้างหรือตามคำสั่งหรือในความควบคุมของตน เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร
มาตรา 15 ภายใต้บังคับมาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 14 เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิ์แต่ผู้เดียวดังต่อไปนี้
(1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(2) เผยแพร่ต่อสาธารณะชน
(3) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
(4) ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
(5) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (1) (2) หรือ (3) โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้
การพิจารณาว่าเงื่อนไขตามวรรค 1 (5) จะเป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
จากพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าผู้ใช้ Excel สร้างงานขึ้นโดยอยู่ในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่ตนสร้างขึ้น ส่วนนายจ้างมีสิทธินำงานออกเผยแพร่ได้ แต่ก็ต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์แห่งการจ้างแรงงานนั้น ซึ่งก็คือสัญญาว่าจ้างนั่นเอง หากไม่ได้ตกลงกันไว้ก่อนในสัญญาจ้างแรงงาน นายจ้างจะไม่มีลิขสิทธิ์ในงานที่พนักงานสร้างขึ้นเลย
ยิ่งกว่านั้น แม้นายจ้างจะมีสิทธินำงานออกเผยแพร่ แต่ก็ไม่มีสิทธิ์ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือสำเนางาน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ไม่มีสิทธิ์ที่จะ copy file ผลงานที่สร้างขึ้น หากผู้สร้างงานไม่ยินยอม
โดยทั่วไปในขณะที่ผู้สร้างงานยังมีฐานะเป็นพนักงานหรือลูกจ้างอยู่นั้น นายจ้างจะมีฐานะที่เหนือกว่าลูกจ้าง และมักจะเขียนสัญญาจ้างแรงงานที่เอาเปรียบ ดังนั้นผู้สร้างงานที่มีความสามารถสูง ควรใส่ใจกับเนื้อหาในสัญญาจ้างแรงงานอย่างรอบคอบ และเลือกใช้วิธีสร้างงานที่เหมาะสมกับเงื่อนไขในสัญญาจ้างแรงงาน
ส่วนในฐานะของนายจ้าง ควรเขียนสัญญาจ้างแรงงานที่ยุติธรรม และหาทางสร้างสิ่งจูงใจและตอบแทนให้แก่ผู้สร้างงานที่มีผลงานดีอย่างเหมาะสม มิฉะนั้นพนักงานจะไม่มีทางใช้ Excel ให้เต็มประสิทธิภาพได้เลย และมีแต่จะเกิดผลเสียกับทั้งสองฝ่าย
ลิขสิทธิ์ของงานที่คุณสร้างขึ้นเข้าข่ายตามกฎหมายทันทีโดยไม่ต้องไปจดทะเบียนลิขสิทธิ์ โปรดดูมาตรา 9
เป็นที่น่าดีใจว่า ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฉบับใหม่ (พ.ศ. 2537) เริ่มมีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา ได้ระบุถึงการสร้างสรรค์งานในฐานะลูกจ้าง หรือผู้รับจ้าง ไว้ดังนี้
มาตรา 4 “โปรแกรมคอมพิวเตอร์” หมายความว่า คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดที่นำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานหรือเพื่อให้ได้รับผลอย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในลักษณะใด
“เผยแพร่ต่อสาธารณะชน” หมายความว่า ทำให้ปรากฏต่อสาธารณชน โดยการแสดง การบรรยาย การสวด การบรรเลง การทำให้ปรากฏด้วยเสียงและหรือภาพ การก่อสร้าง การจำหน่าย หรือโดยวิธีอื่นใดซึ่งงานที่ได้จัดทำขึ้น
มาตรา 9 งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้ลิขสิทธิ์ในงานนั้นเป็นของผู้สร้างสรรค์ แต่นายจ้างมีสิทธินำงานนั้นออกเผยแพร่ต่อสาธารณะชนได้ ตามที่เป็นวัตถุประสงค์แห่งการจ้างแรงงานนั้น
มาตรา 10 งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการรับจ้างบุคคลอื่น ให้ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น เว้นแต่ผู้สร้างสรรค์และผู้ว่าจ้างจะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 14 กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น ย่อมมีลิขสิทธิ์ในงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการจ้างหรือตามคำสั่งหรือในความควบคุมของตน เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร
มาตรา 15 ภายใต้บังคับมาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 14 เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิ์แต่ผู้เดียวดังต่อไปนี้
(1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(2) เผยแพร่ต่อสาธารณะชน
(3) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
(4) ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
(5) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (1) (2) หรือ (3) โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้
การพิจารณาว่าเงื่อนไขตามวรรค 1 (5) จะเป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
จากพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าผู้ใช้ Excel สร้างงานขึ้นโดยอยู่ในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่ตนสร้างขึ้น ส่วนนายจ้างมีสิทธินำงานออกเผยแพร่ได้ แต่ก็ต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์แห่งการจ้างแรงงานนั้น ซึ่งก็คือสัญญาว่าจ้างนั่นเอง หากไม่ได้ตกลงกันไว้ก่อนในสัญญาจ้างแรงงาน นายจ้างจะไม่มีลิขสิทธิ์ในงานที่พนักงานสร้างขึ้นเลย
ยิ่งกว่านั้น แม้นายจ้างจะมีสิทธินำงานออกเผยแพร่ แต่ก็ไม่มีสิทธิ์ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือสำเนางาน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ไม่มีสิทธิ์ที่จะ copy file ผลงานที่สร้างขึ้น หากผู้สร้างงานไม่ยินยอม
โดยทั่วไปในขณะที่ผู้สร้างงานยังมีฐานะเป็นพนักงานหรือลูกจ้างอยู่นั้น นายจ้างจะมีฐานะที่เหนือกว่าลูกจ้าง และมักจะเขียนสัญญาจ้างแรงงานที่เอาเปรียบ ดังนั้นผู้สร้างงานที่มีความสามารถสูง ควรใส่ใจกับเนื้อหาในสัญญาจ้างแรงงานอย่างรอบคอบ และเลือกใช้วิธีสร้างงานที่เหมาะสมกับเงื่อนไขในสัญญาจ้างแรงงาน
ส่วนในฐานะของนายจ้าง ควรเขียนสัญญาจ้างแรงงานที่ยุติธรรม และหาทางสร้างสิ่งจูงใจและตอบแทนให้แก่ผู้สร้างงานที่มีผลงานดีอย่างเหมาะสม มิฉะนั้นพนักงานจะไม่มีทางใช้ Excel ให้เต็มประสิทธิภาพได้เลย และมีแต่จะเกิดผลเสียกับทั้งสองฝ่าย